Wednesday, February 16, 2011

การวิเคราะห์ การลงทุนแบบพิ้นฐาน โดยใช้ปัจจัยทางเศรษฐกิจ

วัตถุประสงค์การวิเคราะห์แบบพื้นฐานโดยใช้ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
        การวิเคราะห์ตัวแปรทางเศรษฐกิจ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการคาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในอนาคต ทั้งแนวโน้มระยะสั้นในช่วง 1 ปีข้างหน้า และแนวโน้มระยะยาวตั้งแต่ 2 ปี ถึง 5 ปีขึ้นไป ว่าสถานการณ์อะไรบ้างที่จะกระทบต่อราคาหุ้น และการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน โดยผู้วิเคราะห์
จำเป็นต้องดูทั้งสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ และสภาวะเศรษฐกิจ
ต่างประเทศ เนื่องจากสถานการณ์การเงินในปัจจุบันมีการเปิดเสรีมากขึ้น
ดังนั้น สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศอื่นก็สามารถส่งผลกระทบต่อ
ตลาดการเงิน และการลงทุนภายในประเทศได้เช่นเดียวกัน
ตัวชี้วัดและเครื่องมือบ่งชี้ที่นักลงทุนควรใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจ

1.วัฏจักรเศรษฐกิจ
เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักลงทุนทราบว่า ณ
ขณะปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศ หรือเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงใด ซึ่งปกติวัฏจักรเศรษฐกิจจะแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่ เศรษฐกิจรุ่งเรือง (Peak) เศรษฐกิจหดตัว (Contraction) เศรษฐกิจต่ำสุด (Recession or Trough) และเศรษฐกิจขยายตัว (Recovery)
  • เศรษฐกิจรุ่งเรือง (Peak) เป็นจุดสูงสุดของวัฏจักร ระบบเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งการผลิตบริโภค
  • เศรษฐกิจหดตัว (Contraction) เป็นช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่ม
    ลดลง GDP ต่ำลง การผลิตและการจ้างงานลดลง รายได้ครัวเรือนลดลง
  • เศรษฐกิจต่ำสุด (Recession) ช่วงเวลานี้การว่างงานสูง ความต้องการสินค้าโดยรวมลดลง สินค้าที่ผลิตขึ้นมาไม่สามารถขายได้
  • เศรษฐกิจขยายตัว (Recovery) เป็นช่วงที่การผลิตและการจ้างงานเริ่มเพิ่มขึ้น รายได้และรายจ่ายของครัวเรือนสูงขึ้น ทิศทางการลงทุนมี
    แนวโน้มดีขึ้น
    ที่มา http://www.tsi-thailand.org/index.php?option=com_content&task=view&id=175&Itemid=166

No comments:

Post a Comment