Thursday, February 17, 2011

ข้อผิดพลาด10ประการของ ผู้ลงทุนในตลาดอนุพันธ์ ตอนที่1


1. Don’t know Regulations and Rules การที่ไม่ได้ศึกษาถึงกฎกติกาให้ดีก่อน เช่น สินค้าอ้างอิงว่าเป็นสินค้าอะไร ,เงื่อนไขการวางหลักประกัน, วันหมดอายุสัญญา, มูลค่าของสัญญา ,วีธีการคำนวนราคา Daily Settlement price และ Final Settlement Price ซึ่งข้อผิดพลาดเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการลดทอนเงินทุนและกำลังใจของผู้ลง ทุนก่อนถึงเป้าหมายได้ เปรียบเสมือนเกมส์การแข่งขันในกีฬาแต่ละประเภท หากไม่ศึกษาถึงกฎกติกาวิธีการเล่นอย่างชัดเจนแล้ว ก็ยากที่จะชนะหรือได้เปรียบต่อนักลงทุนรายอื่นได้ ซึ่งตัวอย่างที่จะเห็นได้ง่ายๆ คือการที่เข้าเปิดสถานะซื้อสัญญาที่กำลังจะหมดอายุ โดยมีราคาสูงกว่า ราคาสินค้าอ้างอิงอยู่มาก ทำให้เมื่อถึงวันหมดอายุสัญญา ต้องขาดทุนอย่างที่ไม่ควร เป็นต้น


2. Hold 2 positions  การเปิดสถานะสองด้าน
การเปิดสัญญา 2ด้านใน Series เดียวกัน (2 legs position) หรือการทำ hedging ด้วยการ Long และ Short คนละSeries (เดือน หมดอายุไม่เท่ากันแต่สัญญาสินค้าอ้างอิงเดียวกัน) โดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการแก้ไขพอร์ตการลงทุนหรืออยากทำกำไรทั้งสองด้าน (ทั้งขึ้นหรือลง)  ซึ่งที่ผมเห็นส่วนใหญ่นั้นเกิดจาก สาเหตุที่นักลงทุนมีการลงทุนที่ผิดทางในครั้งแรกแต่ไม่ยอมปิดสถานะจึงเลือก ที่จะทำการถือสถานะทั้งสองด้านเพราะไม่อยากปิดสัญญาด้านแรกที่จะเห็นตัวเอง ขาดทุนดังนั้นจึงหลอกตัวเองด้วยการไม่ปิดสถานะเพราะไม่ปิดก็ไม่เห็นการขาด ทุน  ซึ่งความเป็นจริงกำไรและขาดทุนมีการคำนวนอยู่ใน พอร์ตทุกวันอยู่แล้ว ซึ่งการเปิดสถานะทั้งสองด้านนั้นจะเห็นว่ามีอีกด้านหนึ่งที่เป็นกำไร แต่ก็ไม่อาจมาชดเชยด้านขาดทุนที่เกิดขึ้นในครั้งแรกได้ แต่อย่างไรก็ดียังมีนักลงทุนส่วนมากที่คิดว่าจะสามารถแกะสถานะทั้งสองด้าน เพื่อทำให้สุดท้ายเกิดกำไรขึ้นทั้งสองด้านซึ่งความเป็นจริง อาจทำได้ยากมากถ้าวันนั้นตลาดไม่ได้แกว่งตัวมากหรือมีทิศทางที่ชัดเจนหรือ การแกะสถานะให้พอดีก็ค่อนข้างยาก  ดังนั้นการเปิด สถานะทั้งสองด้านจะเป็นปัญหาและอุปสรรคมากกว่า เนื่องจากจะทำให้การตัดสินใจของผู้ลงทุนจะไม่เฉียบคมเพราะการถือสถานะทั้ง สองข้างจะทำให้เกิดความลังเลใจเนื่องจากจะมีด้านหนึ่งกำไรและด้านหนึ่งขาด ทุนอยู่ตลอดเวลาซึ่งผู้ที่ประสบความสำเร็จในการลงทุนตลาดฟิวเจอร์ ส่วนใหญ่นั้นจะตัดใจด้วยการปิดสถานะทันทีเมื่อทิศทางไม่ได้เป็นอย่างที่คิด  จากนั้นค่อยหาจังหวะใหม่ในการเปิดสถานะใหม่


3. Over Trade การลงทุนเกินกำลังของตัวเอง
เนื่องจากการลงทุนในตลาดอนุพันธ์หรือ Futures นั้นใช้หลักประกันเพียงบางส่วนเพื่อทำการซื้อขายสัญญา ซี่งบางสินค้า ใช้เงินหลักประกันเริ่มต้นเพียง 10% เท่านั้น ดังนั้นหากผู้ลงทุนมีหลักประกันหรือเงินลงทุนที่น้อยแต่อยากที่จะลงทุนเพิ่ม มากขึ้นเรื่อยจนเต็มเพดานวงเงินที่สามารถเล่นได้ โดยลืมประเมินถึงมูลค่าของสัญญา และความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงในการขาดทุนได้

หรือ อาจเปรียบเทียบกับ ผู้ที่ได้กำไรในการลงทุนและเปิดสถานะเพิ่มตลอดเพื่อต้องการทำกำไรให้ได้สูง สุด ซึ่งจะนำมาให้ผู้ลงทุนเกิดความโลภจนลืมคิดว่าเงินที่ลงทุนจริงอาจไม่เพียงพอ หากตลาดกลับทางกับสิ่งที่ตัวเองคิดไว้

ดัง นั้น จึงเห็นได้ว่าบ่อยครั้งที่ผู้ที่มีกำไรในช่วงแรกจนได้ใจ และเกิดความโลภ ก็จะนำมาซึ่งการขาดสติ และมักจะทำให้เกิดความเสียหายตามมา เปรียบเสมือนนักพนันที่เล่นตามบ่อนซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อใดควรหยุดหรือถอย ก็จะยอมจบเมื่อหมดตัวเท่านั้น



4. Overnight trade การเปิดสถานะข้ามวัน
บาง ช่วงเวลาหากประเมินสภาวะตลาดหรือมองทิศทางของแนวโน้มไม่ออก การเปิดสถานะค้างไว้เพื่อลุ้นในวันถัดไป ก็คงไม่ต่างอะไรกับการพนัน ที่เพียงเดาว่ามันจะขึ้นหรือลง ซึ่งบ่อยครั้งจะเห็นได้ว่ากำไรที่สะสมมาระหว่างวัน กับมาต้องพนัน กับสิ่งไม่แน่นอน หรือควบคุมไม่ได้ในช่วงข้ามคืน  ดังจะเห็นได้จากราคาทองคำที่มีการซื้อขายอยู่ตลอด 24 ช.ม. แต่เวลาที่เราสามารถควบคุมได้(หยุดขาดทุนได้) ก็มีเพียงช่วงเวลาเทรดเท่านั้น ซึ่งสถานการณ์อาจเปลี่ยนไปในช่วงข้ามคืนในขณะที่เราไม่สามารถควบคุมความ เสี่ยงได้เลย หรือการซื้อขายดัชนีล่วงหน้า SET50 ที่อาจมีแนวโน้มเปลี่ยนไปในช่วงกลางคืนจากการผันผวนของดัชนีตลาดต่างประเทศ เช่น Dowjone ก็อาจส่งผลในทิศทางตรงกันข้ามในช่วงเวลาเปิดตลาดของวันถัดไปก็เป็นได้ 
ดังนั้น การปิดประตูความเสี่ยง ได้คือการไม่มีสถานะ ในช่วงที่เราไม่สามารถควบคุมการลงทุนของเราได้



5. Alway to be the Victor ต้องการเป็นผู้ชนะตลอดเวลา
ไม่ มีใครที่สามารถลงทุนหรือเทรด ได้ถูกต้องตลอดเวลา ดังนั้นการแพ้ชนะ ในเรื่องการลงทุนเป็นเรื่องปรกติที่เปรียบดังเกมส์กีฬา ที่จะมีทั้งกำไร และขาดทุนบ้างผสมกันไป โดยสิ่งที่เหลือคือการพัฒนาทักษะที่จะสามารถให้ครั้งที่ถูกมากกว่าครั้งที่ ผิด (Win/loss Ratio) รวมถึงการควบคุมความเสี่ยงและผลตอบแทน (Risk and Reward) เพื่อให้การขาดทุนได้ถูกจำกัดและการที่ได้กำไรต้องมีสัดส่วนที่มากกว่าปริมาณขาดทุนเป็นเท่าตัวขึ้นไป

แต่ บ่อยครั้งที่จะเห็นว่า ผู้ที่เคยประสบความสำเร็จจากการลงทุนในหุ้น ที่ถือคติไม่ขายไม่ขาดทุน อาจนำมาใช้กับตลาดอนุพันธ์ไม่ได้เพราะ เนื่องจากความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ที่มีการกำหนดระยะเวลาของอายุสัญญา รวมถึงการคำนวนกำไรขาดทุนเป็นวัน และต้องมีการเรียกหลักประกันเพิ่ม ดังนั้น การทนถือ เพื่อไม่ยอมตัดขาดทุน อาจต้องทำให้เติมเงินไม่รู้จบ หรือการขาดทุนอาจจะมีมากกว่าเงินหลักประกันที่เริ่มใช้ในตอนแรกก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ที่ไม่ยอมแพ้ (ไม่ยอม Cut loss) ก็คือผู้ที่แพ้อย่างแน่นอนในตลาดอนุพันธ์


สำหรับตอนต่อไป มาพบกับข้อผิดพลาดที่เหลืออีก 5ข้อ ว่าจะเป็นอะไรบ้าง

source: http://www.investorchart.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=382925

No comments:

Post a Comment